
ถึงเวลาแล้วที่เกษตรไทยจะทำความรู้จักกับ สมาร์ทฟาร์ม ให้มากขึ้น
ประเทศไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่โลกแห่งเทคโนโลยี ซึ่งเห็นได้จากการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้ และช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในไทยผ่านนวัตกรรมที่ทันสมัย แต่ที่เห็นโดดเด่นมาแต่ไกลและดูจะได้ผลดีทีเดียวคือนวัตกรรมการเกษตร
และด้วยพิษโควิด-19 ที่โจมตีเข้ามาอย่างหนัก จึงทำให้โลกการเกษตรจำเป็นต้องหาแนวทางเข้ามาช่วยเหลือ แน่นอนว่าเรื่องนี้เทคโนโลยีก็เป็นตัวช่วยสำคัญที่ช่วยทุ่นแรงและเพิ่มปริมาณพืชผลได้ดีมากขึ้นกว่าเดิม เรียกกันว่า สมาร์ทฟาร์ม หรือเกษตรอัจฉริยะ นั่นเองค่ะ

Smart Farm คืออะไร ช่วยเกษตรกรไทยได้จริงหรือ?
หากคุณกำลังสงสัยว่า smart farm คืออะไร เรามีคำตอบสั้น ๆ ง่าย ๆ มาให้ทุกคนทำความเข้าใจกัน สมาร์ทฟาร์มเป็นรูปแบบการทำเกษตรกรรมแบบใหม่ ที่ได้นำเอาเทคโนโลยีอัจฉริยะเข้ามาบริหารจัดการระบบขั้นตอนต่าง ๆ หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเอาเทคโนโลยีเข้ามาควบคุมการทำงานนั่นแหละ ทั้งเรื่องการตรวจสอบ การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ ตลอดจนการแก้ปัญหาการเพาะปลูกแบบ Real-Time นอกจากนี้ยังสามารถแสดผลการทำงานได้อย่างแม่นยำอีกด้วย
อย่างกรณีของหนุ่มคนหนึ่งที่ตกงานเพราะโควิด-19 (อ้างอิง ไทยรัฐ) ทางเลือกเดียวคือ ออกจากกรุงเทพฯ แล้วกลับบ้านเกิด จนเขาเองก็ได้มีโอกาสเห็นว่าพื้นที่ทางการเกษตรในชุมชนยังคงทำกันในรูปแบบเดิม คือ ‘ใช้แรงคนเป็นหลัก’ ตัวเขาจึงได้อาศัยความรู้ที่พอมีอยู่บ้าง ด้วยการ รับจ้างพ่นยาฆ่าแมลง

แต่การรับจ้างพ่นยาฆ่าแมลงในรูปแบบของเขาไม่ใช่การแบกถังน้ำยา หรือเดินบริการตามจุด แต่คือการใช้ ‘โดรนทางการเกษตร’ เข้าช่วย ผลลัพธ์คือสามารถเก็บรายละเอียดงานได้ครบทุกพื้นที่ภายในเวลาอันรวดเร็ว ที่สำคัญยังแม่นยำและทั่วถึงอีกด้วย
ซึ่งก่อนหน้านี้โดรนทางการเกษตรเคยได้รับความนิยมมาอยู่แล้ว แต่ได้รับความนิยมเฉพาะธุรกิจการเกษตรรายใหญ่เท่านั้น แต่ปัจจุบันธุรกิจนี้ได้เริ่มกระจายเข้าสู่ชุมชนในต่างจังหวัดมากขึ้น โดยเรื่องนี้ แม็ค กฤตธัช สาทรานนท์ เจ้าของบริษัท โนวี่ (2018) ได้บอกว่า ในตอนนี้เกษตรกรทั่วไปเริ่มให้ความสนใจโดรนทางการเกษตรมากขึ้น ซึ่งแตกต่างจากช่วง 3 ปีที่แล้วที่คนส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อว่าจะให้ผลลัพธ์ดีและช่วยทุ่นแรงได้จริง แต่เมื่อมาถึงยุคนี้ที่เกษตรกรเริ่มเข้าถึงเทคโนโลยี เล่นมือถือ เล่นยูทูป ก็เริ่มจะเห็นประโยชน์ของอุปกรณ์นี้จริง ๆ
โดรนไม่ได้ช่วยแค่เกษตรกร แต่ยังสร้างอาชีพใหม่ได้ด้วย
และเนื่องจากต้นทุนโดรนเพื่อการเกษตร เฉลี่ยแล้วก็มีราคาอยู่ที่หลายหลัก เลยทำให้เกษตรกรอาจจะยังไม่กล้าลงทุนซื้อโดนด้วยตัวเอง จึงใช้วิธีการจ้างคนใช้โดรนให้มาบริการฉีดพ่นแทน ซึ่งนั่นนอกจากจะเป็นผลดีกับเกษตรกรแล้ว มันยังช่วยสร้างอาชีพใหม่ให้กับคนอีกด้วย

นอกจากนี้คนรุ่นใหม่เริ่มเกิดกระแสการกลับบ้านเกิดตัวเอง เพื่อหันไปวางแผนสร้าฟาร์มเกษตรเป็นของตัวเอง ทั้งฟาร์มที่ให้ผลผลิต ฟาร์มเพื่อการท่องเที่ยว ฟาร์มตัวอย่าง ตลอดจนฟาร์มที่ไว้ใช้สอยในครัวเรือน (มักพัฒนาไปสู่การขาย) ที่ไม่ได้เอาแค่โดรนมาเป็นตัวช่วยในการพ่นฉีดยาเท่านั้น แต่ยังได้มีการพัฒนาเกี่ยวกับการคำนวณผลผลิต ปัญหา วิธีการแก้ไขแบบทันเวลา การให้น้ำให้ปุ๋ย และการวางแผนเก็บเกี่ยว ที่เรียกได้ว่าครอบคลุมในทุกขั้นตอนของการทำการเกษตร
ยกตัวอย่าง การทำธุรกิจขนาดใหญ่อย่างการทำโรงงานน้ำตาล ที่อาจมีไร่อ้อยอยู่ในเครือข่าย แต่เดิมจะต้องคอยสำรวจต้นอ้อยด้วยการใช้คนเดินนับจำนวน แต่เมื่อใช้โดรนบินสำรวจก็สามารถประเมินผลได้อย่างแม่นยำและใช้เวลาน้อยกว่า หากพบว่าอ้อยมีจำนวนไม่เพียงพอ ก็สามารถที่จะวางแผนรับซื้อจากไร้อ้อยอื่น ๆ ได้ตามจำนวนที่ต้องการแบบทันเวลา เป็นต้น

ที่สำคัญเว็บไซต์ fortunebusinessinsights.com ยังมีการคาดการณ์อีกว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า การใช้โดรนทางการเกษตรจะเติบโตขึ้นอีกประมาณ 18.14% อีกทั้งในยุคที่โควิด-19 ได้แพร่ระบาดไปทั่วโลก ก็เป็นสัญญาณเตือนสำคัญแล้วว่าความต้องการในการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการเกษตรมีมากเพียงใด นอกจากนี้การมีผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้นและรวดเร็วขึ้น ยังช่วยรองรับจำนวนประชากรโลกที่อาจเพิ่มขึ้นในอนาคตตามที่ WHO แจ้งไว้อีกด้วย
แม้ว่าในตอนนี้เกษตรกรไทยจะเริ่มหันมาใช้ระบบสมาร์ทฟาร์มกันมากขึ้นแล้ว แต่ก็ต้องยอมรับว่ายังเป็นแค่คนกลุ่มน้อยเท่านั้น เพราะอย่างที่ได้กล่าวไปว่าต้นทุนการทำค่อนข้างสูง อีกทั้งเกษตรกรยังไม่ได้รับความรู้ในเรื่องนี้กันมากนัก แต่ทั้งนี้หากผู้ผลิตสามารถพัฒนาเทคโนโลยีให้มีต้นทุนถูกลง แสดงผลลัพธ์ได้ชัดเจนขึ้น และจัดโปรแกรมให้ความรู้อย่างจริงจังกับเกษตรกร คุ้มค่าต่อการลงทุนมากกว่าการเล่นพนัน เว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์เชื่อได้เลยว่าสมาร์ทฟาร์มจะต้องกลายเป็นที่แพร่หลาย เป็นที่ยอมรับ และช่วยให้เกษตรกรสามารถควบคุมผลผลิตได้ตามความต้องการอย่างแน่นอน